ค่า ISO ในกล้องคืออะไร

ค่า iso ในกล้องคืออะไร, iso ของกล้องคืออะไร, กล้องดิจิตอล iso คือ, iso กล้องย่อมาจาก, iso กล้อง DSLR, iso กล้องดิจิตอล, ISO

ค่า ISO คิดว่ามือใหม่คงเคยได้ยินกันมาบ้างแล้ว ซึ่งค่านี้เราต้องทำความเข้าใจเบื้องต้นให้ได้เสียก่อน เพื่อที่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ง่ายขึ้น ค่า ISO ย่อมาจาก International Standards Organization

ค่า ISO คืออะไร แบ่งเป็น 2 จำพวกนะครับ คือ
– ในกล้องจำพวกกล้องฟิล์ม ค่า ISO (ASA) คือ ค่าความไวของฟิล์มต่อแสง แสดงเป็นตัวเลข เช่น 100, 200, 400 … ซึ่งค่านี้ถ้ายิ่งน้อย ค่าความไวแสงก็จะน้อย พวกจุดๆ ก็จะน้อยตาม
– ในค่า ISO กล้องดิจิตอลหรือ ISO กล้อง DSLR คือ ค่าความไวแสงของตัว image sensor
เข้าใจได้ง่ายๆ ก็คือ ถ้า ISO ต่ำๆ จะไวต่อแสงน้อย ถ่ายในที่สว่างๆได้ แต่ถ้าถ่ายที่แสงน้อยจะได้ภาพมืดๆออกมา ถ้า ISO มากๆ จะใช้กับการถ่ายภาพที่มืด เพราะจะมีความไวต่อแสงมากกว่า จึงไวกว่าในที่แสงน้อยกว่า

จำง่ายๆ คือ ISO มาก แสงน้อย / ISO น้อยแสงมาก
แต่ถ้าค่า ISO ที่สูงขึ้น ก็มักจะได้สัญญาณรบกวน (noise) เกิดขึ้นตามมาเช่นกัน ดังนั้นก็ควรที่จะตั้งค่า ISO ให้ต่ำที่สุดที่จะได้ภาพที่มี noise น้อยสุด แต่คงไว้ซึ่งความคมชัดตามที่เราต้องการ
โดยทั่วไป เรามักจะตั้งค่าโหมดถ่ายภาพไว้ที่ auto ซึ่งในโหมดนี้ มันจะคำนวณหาค่า ISO ให้เราเองโดยอัตโนมัติในสภาวะนั้นๆที่เรากำลังถ่ายภาพ มันจะคำนวณค่า ISO, shutter speed และค่ารูรับแสง ที่เหมาะสมให้

มีสิ่งที่ควรคำนึงถึงเมื่อจะเลือกใช้ค่า ISO
1. ปริมาณแสง?
2. Grain หรือ Noise ที่รับได้
3. มีขาตั้งกล้อง?
4. วัตถุเคลื่อนไหว?

เช่น
– ถ้าอยู่ในที่ๆมีแสงเพียงพอ ให้มี grain เล็กน้อย มีขาตั้งกล้องพร้อม และวัตถุไม่เคลื่อนไหว กรณีนี้ใช้ ISO ต่ำๆได้เลย
– ถ้าอยู่ในที่มืด ต้องการ grain ด้วย ไม่มีขาตั้งกล้องด้วย แถมวัตถุเคลื่อนไหวอีก แบบนี้ก็ต้องใช้ ISO สูงหน่อย แต่ต้องอยู่ในระดับที่ให้ภาพที่คมชัด กรณีนี้เราอาจจะต้องใช้การปรับ ความเร็วชัตเตอร์และค่ารูรับแสง มาช่วยด้วย

สรุปคือ โดยทั่วไป สถานการณ์ที่เราต้องใช้ ISO สูงๆ ที่มักเจอบ่อยๆ คือ
– ภาพกีฬาในร่ม – แสงน้อย วัตถุเคลื่อนไหวตลอด
– ภาพคอนเสิร์ต – แถมบางที่ห้ามใช้แฟลชอีก
– ภาพในพิพิธภัณฑ์ สถานที่สำคัญทางศาสนา – ที่มักจะมีแสงน้อย และห้ามใช้แฟลชด้วย
– งานเลี้ยง-ปาร์ตี้

ขอขอบคุณที่มา ISO Settings in Digital Photography

Check Also

จากงานอดิเรกสู่อ

จากงานอดิเรกสู่อาชีพ: 3 อาชีพที่สามารถเชี่ยวชาญใน

ไม่น่าจะมีใครกล …

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *