วันนี้ผมได้ไปอ่านบทความเกี่ยวกับเจ้า Histogram มา เลยอยากที่จะแปลแบบเป็นเรื่องเป็นราวและลงไว้ในเว็บเสียหน่อย เพื่อแชร์ความรู้นี้ให้ผู้ที่สนใจได้อ่านกัน (รวมทั้งตัวผมเองด้วย) ส่วนบทความต้นฉบับจะอยู่ที่ How to Read and Use Histograms โดย Darlene Hildebrandt
Histogram เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มากอีกตัวหนึ่ง ที่กล้องถ่ายรูปมีให้เรา โดยเฉพาะการนำไปสู่การตั้งค่า exposure ที่ถูกต้อง แต่เราเองบางครั้งหรือหลายๆครั้งมักจะมีความเข้าใจที่ผิดพลาดกับเครื่องมือนี้ ในบทความนี้ เราจะเน้นไปที่การอ่าน Histogram และการนำไปใช้ เพื่อให้ได้มาซึ่งค่า exposure ที่เหมาะสมที่สุด ณ เวลานั้นๆ
Histogram คืออะไร
แปลตาม dictionary ก็คือ “A bar graph of a frequency distribution in which the widths of the bars are proportional to the classes into which the variable has been divided and the heights of the bars are proportional to the class frequencies.” ยาวมาก ขี้เกียจแปล มาดูว่าเราจะอ่านมันอย่างไร และนำมันไปใช้อย่างไร
การอ่านค่า Histogram
Histogramคือกราฟแท่งที่แสดงถึงความถี่หรือจำนวนของ pixel ที่การจายอยู่ ณ ช่วงค่าความสว่างต่างๆ จากรูป ส่วนที่อยู่ทางซ้าย คือส่วนที่เป็นด้านมืดหรือเงา ส่วนด้านขวา คือ ส่วนที่เป็นสีขาวหรือส่วนสว่างของภาพ และส่วนตรงกลาง คือ ส่วนสีเทา โดยที่ส่วนที่เป็นความสูงจะแสดงถึงจำนวนที่มีของค่าความสว่างหรือในช่วงโทนนั้นๆ แต่ละโทนซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0-255 (0 คือ มืดสุด และ 255 คือ สว่างสุด) คือค่าตำแหน่งบนแกนแนวนอนของกราฟ เมื่อมันมาเรียงต่อกันบนกราฟ ก็จะมีหน้าตาประมาณนี้
เราได้อะไรจาก Histogram
แค่เพียงอ่าน Histogram จากภาพ เราก็สามารถที่จะได้อะไรๆออกมาหลายอย่าง ถ้าค่า exposed ดี รูปกราฟจะกระจายตัวแบบ สูงตรงกลางและมีที่ว่างซ้ายขวาเท่ากัน ความสูงเท่าๆกัน (แต่ในความเป็นจริง อาจจะไม่ใช่ทุกกรณีที่เป็นแบบนี้ ต้องดูปัจจัยอย่างอื่นประกอบด้วย)
เมื่อ Histogram บอกคุณเองว่าควรจะปรับ exposure ได้แล้ว
ถ้ามี gap (ช่องว่าง) อยู่ที่ข้างใดข้างหนึ่ง แสดงว่าเรากำลังพลาดรายละเอียดบางอย่างและเราสามารถปรับ exposure ได้โดยที่รายละเอียดของภาพยังคงอยู่ ถ้ากราฟสูงๆของเราเอียงไปอยู่ข้างใดข้างหนึ่งมากๆ เราก็ยังสามารถปรับค่า exposure ของเราได้อยู่
ยังมีตอนที่ 2 ต่อนะครับ ติดตามอ่านกันได้